ประเพณีไทย ประเพณีชักพระทางทะเล
ภาคใต้ของไทยมีประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เพราะมีกลุ่มคนอาศัยอยู่มากมาย แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งนั่นคือ เมื่อถึงประเพณีสำคัญต่าง ๆ ประชาชนที่ไปทำงานต่างถิ่น จะเดินทางกลับมาร่วมกิจกรรมอย่างเนืองแน่น เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง และร่วมทำบุญ ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ที่หาชมได้ในประเพณีไทย
สำหรับอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้พื้นที่มีลักษณะเป็นเกาะ แต่ผู้คนที่นี่ให้ความสำคัญกับประเพณีพื้นบ้านที่มีมาแต่โบราณ เพราะประเพณีต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนสร้างสีสันให้กับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ซึ่งในเร็ว ๆ นี้บนเกาะพะงัน จะมีประเพณีที่สำคัญ นั่นคือ ประเพณีชักพระทางทะเล
ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเกาะพะงันที่มีมายาวนานอยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวเกาะ มาจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเพณีชักพระทาง ทะเล ถือเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ชาวเกาะพะงัน สืบทอดกันมายาวนาน โดยสันนิษฐานว่า ประเพณีดังกล่าวว่า น่าจะสืบเนื่องมาจากตำนานเทโวโร หนสูตร ซึ่งมีหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ทุทกนิกายว่า ก่อนพุทธศก 80 ปี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ เทวโลกชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาจนตลอดไตรมาส แล้วเสด็จกลับสู่ชมพูทวีปทางด้านเมืองสังกัฎฐ โดยมีพระสาวกและเหล่าเทวดาเฝ้ารับเสด็จ จึงถือเอาว่าวันนี้เป็นวันพระเสด็จ อดีตจึงได้จัดเป็นประเพณีชักพระสืบต่อกันมาจวบจนถึงปัจจุบัน แรม 8 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งถือเป็นวันชักพระทางทะเลของชาวเกาะพะงัน
ประเพณีชักพระทางทะเล ถือเป็นประเพณีไทยที่ยิ่งใหญ่ของชาวอำเภอเกาะพะงัน และเป็นสิ่งที่ชาวเกาะพะงัน ภาคภูมิใจนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันเพราะเป็นประเพณีชักพระทางทะเลที่มีจัดขึ้นแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งมีแห่งเดียวในโลก
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น