ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีผีไทย ประเพณีตาโขน

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีลอยโคม

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีทานขันข้าว

ประเพณีไทย ประเพณีทานขันข้าว



ประเพณีทานขันข้าว คือ ประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ไปแล้ว เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงความกตัญญูอีกแบบหนึ่งของชาวไทย โดยนำสำรับกับข้าวไปถวายวัดในวันเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษาและออกพรรษา หรือทำบุญอุทิศส่วนกุศลในโอกาสอื่นๆ

ประเพณีไทยการทานขันข้าว นอกจากจะเป็นการทำบุญ ที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษแล้ว การประกอบอาหารก็ดี การไปทำบุญร่วมกันที่วัดก็ดี เป็นกิจกรรมที่ทำให้ครอบครัวเกิดความรัก ความอบอุ่น ประการสำคัญ การพาเด็ก ๆ ไปทานขันข้าวที่วัด นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมการทำบุญแล้ว ยังเป็นการสืบทอดในเรื่องความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยไม่ต้องใช้วิธีอบรมสั่งสอน แต่เป็นวิธีที่ผู้ใหญ่ได้ปฏิบัติตนให้ลูกหลานได้เห็นเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นวิธีสืบทอดหรือการสอนที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการพูดแต่อย่างใด

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีไทย ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีไทย


ปอยส่างลอง เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ ๔ กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ ๑๒ กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีไทยที่มีมาดั้งเดิม ซึ่งช่วงเวลาของประเพณีไทย ประเพณีปอยส่างลองจะมีขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ระยะเวลา ๓-๗ วัน โดยทั่วไปนิยมจัดงาน ๓ วัน

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีไทย ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีไทย


ประเพณีหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่กระทำกันในระหว่างวันที่ 13, 14, 15 ของเดือนเมษายน แต่เดิมประเพณีสงกรานต์มีขึ้น เพื่อต้อนรับพระอาทิตย์ ซึ่งส่องแสงและให้ความอบอุ่นแก่โลก ต่อมาชาวไทยถือว่าเป็นงานเพื่อระลึกถึงปู่ ย่าตายาย และเป็นงานรื่นเริงในฤดูร้อนพร้อมกันไปด้วย เมื่อถึงวันที่มีประเพณีไทยสงกรานต์ประชาชนชาวไทยทั้งหญิง และชาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะพากันไปวัดในตอนเช้า พร้อมทั้งนำอาหารและดอกไม้ธูปเทียนไปถวายพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้ว หรือนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน ต่อจากนั้นจะมีการ สรงน้ำพระพุทธรูปประจำบ้านเรือนและที่วัด แล้วมีการนำน้ำหอมไปรดญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ ซึ่งอวยพร ให้ผู้รดมีความสุขความเจริญด้วย นอกจากนั้นก็มีการสาดน้ำกันด้วยความสนุกสนาน ในประเพณีไทยวันสงกรานต์เรา มักทำความสะอาดแท่นบูชาพระ บ้านเรือนที่อาศัย รวมทั้งคอกสัตว์เลี้ยง

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีขึ้นปีใหม่

ประเพณีไทย ประเพณีขึ้นปีใหม่


ประเพณีไทย

คนไทยเราถือกันว่าปีหนึ่งมี 12 เดือน ซึ่งนับอย่างไทยก็เริ่มที่เดือนอ้ายเดือนยี่เดือนสามเรื่อยไปจนถึง เดือนสิบสอง เมื่อสมัยก่อนคนไทยเรานับวันขึ้นปีใหม่ในเดือนห้า (เมษายน) แต่ในปัจจุบันได้กำหนดวัน ขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เดือนมกราคมตามแบบสากล คนไทยเราถือว่าปีใหม่เป็นปีที่เราหวังจะมีชีวิตที่ดีกว่า เดิมในทุก ๆ ทาง ดังนั้นเมื่อถึงวันปีใหม่ตามประเพณีไทย เรานิยมทำบุญโดยการตักบาตร ไปอวยพรญาติและมิตรสหาย ขอพรจากผู้ใหญ่ และบางแห่งจัดงานเลี้ยงฉลองกัน

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีบวชนาค

ประเพณีไทย ประเพณีบวชนาค


คนไทยมีประเพณีประจำชาติอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือการบวชนาค ซึ่งมีความเชื่อกันว่า เมื่อผู้ชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ควรเข้าบวชในพุทธศาสนาชั่วระยะหนึ่ง เป็นกี่วันกี่เดือนหรือกี่ปีก็ได้ ทั้งนี้เพื่อจะได้ ถูกอบรมให้เป็นให้เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม และรู้จักบาปบุญคุณโทษ โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองและผู้ที่จะบวช จะต้องไปหาเจ้าอาวาสของวัดที่จะบวชเสียก่อน 1 หรือ 2 สัปดาห์ และแจ้งความประสงค์ให้ทราบ เจ้าอาวาสก็มอบให้พระรูปใดรูปหนึ่งในวัดเป็นผู้สอนให้ผู้บวชขานนาคอยู่ประมาณ 4 ถึง 5 วันจนขานได้ เมื่อก่อนจะถึงวันบวช 1 หรือ 2 วัน ผู้บวชก็จะไปหาพระที่จะนำบวชซึ่งเรียกว่า พระอุปัชฌาย์ เมื่อรับทราบเวลาที่จะทำพิธีต่างๆ ในวันก่อนถึงวันบวชนั้นส่วนมากจะมีพิธีทำขวัญนาค โดยมีญาติและมิตรสหายพร้อมหน้าโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ พอรุ่งขึ้นก็นำนาคไปที่วัด ซึ่งเจ้าของงานประเพณีไทยนี้ส่วนมากมักจะจัดขบวนแห่จากบ้านไปวัด เมื่อถึงวัดก็จะแห่นาครอบโบสถ์ 3 รอบและนำเข้าโบสถ์ ต่อจากนั้นพระอุปัชฌาย์ และพระสงฆ์อื่นๆ ก็จะดำเนินการตามระเบียบของสงฆ์ต่อไป

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีทำบุญบ้าน

ประเพณีไทย ประเพณีทำบุญบ้าน

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย


ประเพณีไทยที่คนไทยเรานิยมปฏิบัติกันมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทำบุญบ้านหรือสถานที่ทำงาน โดยเจ้า ของงานจะไปติดต่อพระที่วัดล่วงหน้าก่อนวันงานประมาณ 1 หรือ 2 วัน จะนิมนต์พระ 5 หรือ 9 รูปไป สวดมนต์ที่บ้าน เมื่อถึงกำหนดเวลาแล้วเจ้าของบ้านจุดธูปเทียนปักไว้หน้าพระพุทธรูป ต่อจากนั้นจะขอให้พระให้ศีล 5 และสวดมนต์ หลังจากนั้นเจ้าของบ้านก็นำอาหารมาเลี้ยงพระ อาจถวายยา ดอกไม้ธูป เทียนหรือปัจจัยแก่พระสงฆ์ด้วย พระจะสวดให้พรอีกครั้งและประพรมน้ำมนต์จึงเสร็จพิธี

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีทำบุญตักบาตร

ประเพณีไทย ประเพณีทำบุญตักบาตร

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย


การทำบุญ คือการปฏิบัติเพื่อเพิ่มพูนความดีให้แก่จิตใจของเรา ซึ่งสามารถทำได้หลายอย่าง แต่การ ทำบุญอย่างหนึ่งที่ทำได้สะดวกทั้งเด็กและผู้ใหญ่ก็คือ การตักบาตร เวลาเช้าพระสงฆ์จะอุ้มบาตรไปตาม ถนนหรือซอยต่าง ๆ ผู้ที่จะตักบาตรจะถือขันข้าว อาหารคาวหวานและดอกไม้ธูปเทียน คอยอยู่หน้าบ้าน เมื่อพระสงฆ์ผ่านมาก็จะนิมนต์ให้หยุด พอพระเปิดฝาบาตร ผู้ที่ตักบาตรก็ตักข้าวใส่ลงในบาตรพร้อม ทั้งอาหารอื่นๆ สำหรับดอกไม้ธูปเทียนนั้นหากจะใส่ด้วยพระจะหงายฝาบาตรขึ้นรับไว้ ประเพณีไทยการใส่บาตรจะใส่พระกี่รูปก็ได้ และใส่อาหารมากน้อยเท่าใดก็ได้ แต่ควรเป็นอาหารที่ทำสุกแล้ว

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีงานศพ

ประเพณีไทย ประเพณีงานศพ

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีงานศพคือการปฏิบัติต่อผู้เสียชีวิต โดยญาติเป็นผู้บอกและเชิญให้ญาติพี่น้องคนอื่น ๆ ตลอดจนมิตรสหาย และผู้ที่นับถือทราบการจัดงานศพ พิธีจะเริ่มด้วยการอาบน้ำศพหรือรดน้ำลงที่มือศพ เพื่อแสดงว่าเป็นการทำความสะอาดศพ ผู้ที่รดน้ำศพควรขอขมาต่อผู้เสียชีวิตด้วยหากเคยโกรธเคืองกันมาก่อน ต่อจากนั้นจึงเอาศพใส่โลงให้มิดชิด แล้วตั้งไว้ไม่เกิน 7 วันเป็นส่วนมาก เพื่อให้มีการสวดพระอภิธรรมและทำบุญให้ผู้เสียชีวิต จากนั้นจึงทำพิธีเผาศพและเก็บกระดูกไว้ในที่อันสมควร หากไม่เผาเพราะญาติพี่น้องไม่พร้อมก็จะเก็บไว้ในที่บรรจุที่วัดก่อน รอจนพร้อมแล้ว (ส่วนมาก 1 ปี) จึงทำการเผาตามประเพณีไทย ผู้ที่ไปในงานศพควรแต่งกายไว้ทุกข์

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีลงแขก

ประเพณีไทย ประเพณีลงแขก



ประเพณีไทย ประเพณีลงแขกคือการรวมคนเพื่อช่วยทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้เสร็จอย่างรวดเร็วทันเวลา เช่น การลงแขกเกี่ยว ข้าว เมื่อมีงานที่ต้องการลงแขกเจ้าของงานต้องไปบอกเพื่อนบ้านและนัดเวลากัน เมื่อถึงเวลาบ้านที่ถูกขอ แรงจะส่งคนไปช่วยลงแขกบ้านละคน ฝ่ายเจ้าของงานก็จะทำอาหารหวานคาวเลี้ยงคนที่มาช่วยทำงานด้วย ซึ่งในระหว่างเกี่ยวข้าว ยังมีการละเล่นร้องรำทำเพลงเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย ปัจจุบันประเพณีไทยนี้หาดูได้ยากแล้ว เนื่องจากมีการนำเครื่องจักรมาช่วยในการทำงาน

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีแต่งงาน

ประเพณีไทย ประเพณีแต่งงาน
ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีแต่งงานคือวิธีปฏิบัติก่อนที่หญิงชายจะอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากัน เมื่อหญิงชายรักกัน โดยผู้ปกครองของทั้ง สองฝ่ายทราบแล้ว ฝ่ายชายจะจัดหาผู้ใหญ่ที่นับถือหรือบิดามารดา ไปทำการสู่ขอผู้หญิงจากผู้ปกครอง ทั้งนี้โดยมีการนัดแนะไว้ล่วงหน้า เมื่อตกลงกันแล้วฝ่ายชายต้องมอบของมีค่าให้ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นของ หมั้น เช่น แหวนเพชร เงิน สายสร้อยทองคำ หรือของมีค่าอื่น ๆ ต่อจากนั้นก็จะทำพิธีแต่งงานกัน โดยทั้งสองฝ่ายอาจเลี้ยงพระหรือใส่บาตรร่วมกัน และเชิญแขกที่เป็นญาติมิตรมารดน้ำอวยพร ส่วนมากจะเลี้ยงอาหารแก่แขกที่เชิญด้วย แล้วจดทะเบียนแต่งงานเพื่อให้สมบูรณ์ตามกฎหมาย ประเพณีไทยแต่เดิมนั้นหญิงชายมักจะหมั้นกันไว้ก่อนเป็นเวลานานก่อนจะแต่งงานกัน แต่ปัจจุบันมีการหมั้นและแต่งงานพร้อมกันในวันเดียว

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือยอกอง

ประเพณีไทย ประเพณีการแข่งเรือยอกอง


ประเพณีไทย

ประเพณีการแข่งเรือยอกอง หรือที่ชาวนราธิวาสเรียกว่า "คอฆอล" ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองของคนท้องถิ่นในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเรียกตามลักษณะของเรือ เพราะมีขนาดไม่เล็กและไม่ใหญ่ ซึ่งมีความสวยงามมาก ถ้ายิ่งเรือที่ประกอบเสร็จใหม่ จะมีการทาสีตกแต่งลวดลายอันประณีตบรรจงอย่างสวยงามมาก ซึ่งในอดีตเรือตัวนี้จะมีการนำเรือยอกองมาใช้ในการประกอบอาชีพการทำประมงจนถึงในปัจจุบันก็ยังมีอยู่ การแข่งขันเรือยอกองได้เริ่มมีการแข่งขันใน พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้หยุดไประยะหนึ่ง แล้วได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ก็ได้มีการจัดการแข่งขันเรือยอกอง อย่างจริงจังขึ้น พร้อม ๆ กับการแข่งขันเรือกอและ และเรือยาว ซึ่งเรือทั้ง ๒ ประเภทนี้ได้จัดให้มีการแข่งขันมานานแล้ว และเรือยอกองยังได้เป็นเรือประเภทหนึ่งที่ได้ทำการแข่งขันหน้าพระที่นั่ง ซึ่งเรือที่ชนะจะได้รับรางวับถ้วยพระราชทาน


การแข่งขันเรือยอกองหรือคอฆอลนั้นได้จัดให้มีประเพณีการแข่งขันกัน ตามโอกาส หรือเมื่อมีพิธีการต่าง ๆ โดยเฉพาะในการแข่งขันหน้าพระที่นั่งเป็นประจำทุกปี ที่มีการแปรพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

ในการแข่งขันเรือยอกองนั้นได้มีการจัดแบ่งการแข่งขันดอกเป็น ๒ ประเภท คือ
ประเภทชาย จะมีฝีพาย ๕ คน ระยะทาง ๕๐๐ เมตร
ประเภทหญิง จะมีฝีพาย ๕ คน ระยะทาง ๓๐๐ เมตร และมีการสวมเสื้อชูชีพด้วย
และจะมีความเชื่อเป็นส่วนบุคคลในการแข่งขันเรือยอกองเพื่อที่จะทำให้เรือของตนนั้นเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน

สาระของประเพณีการแข่งเรือยอกอง
ในการแข่งเรือยอกอง จะมีการฝึกซ้อมก่อนการแข่งขัน เพื่อให้เกิดความสามัคคีของฝีพายที่จะพายเรือยอกองในการแข่งขันเพื่อให้มีความพร้อมเพรียงและเข้าจังหวะกันในการพาย ถือว่าเป็นประเพณีไทยที่ส่งเสริมความสามัคคีและเกิดความสนุกสนานขึ้นอีกด้วย

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีชักพระทางทะเล

ประเพณีไทย ประเพณีชักพระทางทะเล


ประเพณีไทย


ภาคใต้ของไทยมีประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ เพราะมีกลุ่มคนอาศัยอยู่มากมาย แต่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งนั่นคือ เมื่อถึงประเพณีสำคัญต่าง ๆ ประชาชนที่ไปทำงานต่างถิ่น จะเดินทางกลับมาร่วมกิจกรรมอย่างเนืองแน่น เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง และร่วมทำบุญ ซึ่งถือเป็นเสน่ห์ที่หาชมได้ในประเพณีไทย

สำหรับอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้พื้นที่มีลักษณะเป็นเกาะ แต่ผู้คนที่นี่ให้ความสำคัญกับประเพณีพื้นบ้านที่มีมาแต่โบราณ เพราะประเพณีต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนสร้างสีสันให้กับนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ซึ่งในเร็ว ๆ นี้บนเกาะพะงัน จะมีประเพณีที่สำคัญ นั่นคือ ประเพณีชักพระทางทะเล

ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเกาะพะงันที่มีมายาวนานอยู่คู่กับวิถีชีวิตชาวเกาะ  มาจวบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประเพณีชักพระทาง   ทะเล ถือเป็นอีกประเพณีหนึ่งที่ชาวเกาะพะงัน   สืบทอดกันมายาวนาน โดยสันนิษฐานว่า ประเพณีดังกล่าวว่า น่าจะสืบเนื่องมาจากตำนานเทโวโร    หนสูตร ซึ่งมีหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ทุทกนิกายว่า ก่อนพุทธศก 80 ปี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จไปประทับจำพรรษา ณ เทวโลกชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาจนตลอดไตรมาส แล้วเสด็จกลับสู่ชมพูทวีปทางด้านเมืองสังกัฎฐ โดยมีพระสาวกและเหล่าเทวดาเฝ้ารับเสด็จ จึงถือเอาว่าวันนี้เป็นวันพระเสด็จ อดีตจึงได้จัดเป็นประเพณีชักพระสืบต่อกันมาจวบจนถึงปัจจุบัน แรม 8 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งถือเป็นวันชักพระทางทะเลของชาวเกาะพะงัน

ประเพณีชักพระทางทะเล ถือเป็นประเพณีไทยที่ยิ่งใหญ่ของชาวอำเภอเกาะพะงัน และเป็นสิ่งที่ชาวเกาะพะงัน ภาคภูมิใจนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันเพราะเป็นประเพณีชักพระทางทะเลที่มีจัดขึ้นแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งมีแห่งเดียวในโลก

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยเป็นคำที่ใช้เรียกรวมกัน ซึ่งมีความหมายว่า สิ่งที่สังคมในประเทศไทยนิยมประพฤติปฏิบัติต่อเนื่องสืบกันมาเป็นเวลานาน จนยึดถือกันในจิตใจว่าต้องปฏิบัติเช่นนั้น จึงจะเกิดความสุขความเจริญ

ขนบธรรมเนียม
ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอยู่มากมายหลายประการ เช่น ผู้น้อยต้องมีความเคารพผู้ใหญ่ มีความจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ แสดงความเคารพกันด้วยการยกมือไหว้หรือกราบ 

ประเพณีไทย
ประเพณีไทยเป็นการทำกิจกรรมทางสังคมของประเทศไทยที่ถือปฎิบัติสืบต่อกันมา ประเพณีไทยในสังคมไทยเรานั้นมีมากมายล้วนเป็นมรดกจากบรรพบุรุษ จากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม นับว่าคนไทยในปัจจุบันโชคดีที่มีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีงามไว้ปฎิบัติ เป็นแบบอย่างแก่ลูกหลานสืบต่อมาจนกระทั่งเป็นประเพณีไทยทุกวันนี้