ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีผีไทย ประเพณีตาโขน

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีลอยโคม

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย ประเพณีนบพระเล่นเพลง

ประเพณีไทย ประเพณีนบพระเล่นเพลง

ประเพณีนบพระเล่นเพลงเป็นประเพณีไทยของจังหวัดกำแพงเพชร ประเพณีนบพระเล่นเพลง เป็นประเพณีที่สืบทอดมาจากสุโขทัย ซึ่งได้กล่าวถึงว่า ในสมัยพญาลิไทได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากลังกามาบรรจุไว้ที่องค์พระเจดีย์ วัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม ดังนั้นจึงได้มีการจัดขบวนของเจ้าผู้ครองนครไปนมัสการพระบรมธาตุ

พิธีกรรมของประเพณีไทย ประเพณีนบพระเล่นเพลงนี้ จังหวัดกำแพงเพชรได้ฟื้นฟูขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ด้วยการจัดขบวนแห่พยุหยาตราจำลองไป นบพระ และเวียนเทียนพระบรมธาตุเจดีย์ และได้มีการแสดงการละเล่น เล่นเพลง กันเป็นที่เอิกเกริก รวมทั้งจัดให้มีการแสดงแสงสีเสียงถึงประวัติความเป็นมาของการตั้งบ้านแปงเมือง นอกจากนี้ยังได้มีการออกร้านแสดงสินค้าหัตถกรรมท้องถิ่น

สำหรับประเพณีไทยการจัดงานนบพระเล่นเพลง ถือเป็นงานประจำปีของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นการ ฟื้นฟูและเผยแพร่ประเพณีดั้งเดิมที่ถ่ายทอดให้กับคนรุ่นใหม่ได้เข้าใจถึงประวัติความเป็นมาของท้องถิ่นตน

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีไทย ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีไทยเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

ประเพณีไทยนี้แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด

ประเพณีไทย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ

ประเพณีไทย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ 

ประเพณีไทย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ


ประเพณีอุ้มพระดำน้ำเป็นประเพณีที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับอภินิหารของพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองคือพระพุทธมหาธรรมราชา ซึ่งคนหาปลาสองสามีภรรยาทอดแหได้ที่วังเกาะระสารในบริเวณลุ่มน้ำป่าสักในเขตตัวเมืองเพชรบูรณ์ จึงนำไปไว้ที่วัดไตรภูมิ เมื่อถึงเทศกาลสารทพระพุทธรูปองค์นี้จะหายไปและชาวบ้านจะพบมาเล่นน้ำที่บริเวณที่ค้นพบเดิม ดังนั้นในเทศกาลทำบุญสารทหลังจากทำบุญเสร็จแล้วจะมีพิธีอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชาลงริ้วขบวนเรือไปสรงน้ำที่วังเกาะระสาร แต่ปัจจุบันนำมาทำพิธีที่ท่าน้ำของวัดโบสถ์ชนะมารในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐

พิธีกรรมของประเพณีไทย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำนี้ จัดให้มีการตั้งศาลเพียงตาแล้วอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชามาประทับ ทำพิธีสวดคาถา โดยพราหมณ์ผู้ทำพิธีนุ่งขาวห่มขาวแล้วอัญเชิญขึ้นบนบุษบกให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาและมีงานฉลองสมโภช จากนั้นจัดให้มีพิธีอุ้มพระดำน้ำในตอนเช้าหลังทำบุญสารทโดยมีขบวนเรือแห่ นำไปโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อถึงบริเวณวัดโบสถ์ชนะมาร เจ้าเมืองพร้อมข้าราชบริพารจะอุ้มพระลงดำน้ำ โดยหันหน้าองค์พระไปทิศเหนือ ๓ ครั้ง ทิศใต้ ๓ ครั้ง ชาวบ้านจะโปรยข้าวตอก ดอกไม้และข้าวต้มกลีบ เมื่อดำน้ำเสร็จชาวบ้านจะตักน้ำรดศีรษะและรดกันเองเพื่อเป็นสิริมงคล

สำหรับประเพณีไทยนี้ ชาวบ้านเชื่อว่าถ้าทำพิธีอุ้มพระดำน้ำแล้วจะทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีทานขันข้าว

ประเพณีไทย ประเพณีทานขันข้าว



ประเพณีทานขันข้าว คือ ประเพณีการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ไปแล้ว เป็นวัฒนธรรมที่แสดงถึงความกตัญญูอีกแบบหนึ่งของชาวไทย โดยนำสำรับกับข้าวไปถวายวัดในวันเทศกาลสำคัญ เช่น สงกรานต์ เข้าพรรษาและออกพรรษา หรือทำบุญอุทิศส่วนกุศลในโอกาสอื่นๆ

ประเพณีไทยการทานขันข้าว นอกจากจะเป็นการทำบุญ ที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษแล้ว การประกอบอาหารก็ดี การไปทำบุญร่วมกันที่วัดก็ดี เป็นกิจกรรมที่ทำให้ครอบครัวเกิดความรัก ความอบอุ่น ประการสำคัญ การพาเด็ก ๆ ไปทานขันข้าวที่วัด นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมการทำบุญแล้ว ยังเป็นการสืบทอดในเรื่องความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยไม่ต้องใช้วิธีอบรมสั่งสอน แต่เป็นวิธีที่ผู้ใหญ่ได้ปฏิบัติตนให้ลูกหลานได้เห็นเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นวิธีสืบทอดหรือการสอนที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องมีการพูดแต่อย่างใด

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีไทย ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีไทย


ปอยส่างลอง เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ ๔ กัลป์ และหากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ ๑๒ กัลป์ และได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ ๘ กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีไทยที่มีมาดั้งเดิม ซึ่งช่วงเวลาของประเพณีไทย ประเพณีปอยส่างลองจะมีขึ้นระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ระยะเวลา ๓-๗ วัน โดยทั่วไปนิยมจัดงาน ๓ วัน

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีไทย ประเพณีสงกรานต์

ประเพณีไทย


ประเพณีหนึ่งที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีไทยที่กระทำกันในระหว่างวันที่ 13, 14, 15 ของเดือนเมษายน แต่เดิมประเพณีสงกรานต์มีขึ้น เพื่อต้อนรับพระอาทิตย์ ซึ่งส่องแสงและให้ความอบอุ่นแก่โลก ต่อมาชาวไทยถือว่าเป็นงานเพื่อระลึกถึงปู่ ย่าตายาย และเป็นงานรื่นเริงในฤดูร้อนพร้อมกันไปด้วย เมื่อถึงวันที่มีประเพณีไทยสงกรานต์ประชาชนชาวไทยทั้งหญิง และชาย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จะพากันไปวัดในตอนเช้า พร้อมทั้งนำอาหารและดอกไม้ธูปเทียนไปถวายพระ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ปู่ย่าตายายที่ล่วงลับไปแล้ว หรือนิมนต์พระไปสวดมนต์ที่บ้าน ต่อจากนั้นจะมีการ สรงน้ำพระพุทธรูปประจำบ้านเรือนและที่วัด แล้วมีการนำน้ำหอมไปรดญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ ซึ่งอวยพร ให้ผู้รดมีความสุขความเจริญด้วย นอกจากนั้นก็มีการสาดน้ำกันด้วยความสนุกสนาน ในประเพณีไทยวันสงกรานต์เรา มักทำความสะอาดแท่นบูชาพระ บ้านเรือนที่อาศัย รวมทั้งคอกสัตว์เลี้ยง

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประเพณีไทย ประเพณีขึ้นปีใหม่

ประเพณีไทย ประเพณีขึ้นปีใหม่


ประเพณีไทย

คนไทยเราถือกันว่าปีหนึ่งมี 12 เดือน ซึ่งนับอย่างไทยก็เริ่มที่เดือนอ้ายเดือนยี่เดือนสามเรื่อยไปจนถึง เดือนสิบสอง เมื่อสมัยก่อนคนไทยเรานับวันขึ้นปีใหม่ในเดือนห้า (เมษายน) แต่ในปัจจุบันได้กำหนดวัน ขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เดือนมกราคมตามแบบสากล คนไทยเราถือว่าปีใหม่เป็นปีที่เราหวังจะมีชีวิตที่ดีกว่า เดิมในทุก ๆ ทาง ดังนั้นเมื่อถึงวันปีใหม่ตามประเพณีไทย เรานิยมทำบุญโดยการตักบาตร ไปอวยพรญาติและมิตรสหาย ขอพรจากผู้ใหญ่ และบางแห่งจัดงานเลี้ยงฉลองกัน

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีบวชนาค

ประเพณีไทย ประเพณีบวชนาค


คนไทยมีประเพณีประจำชาติอยู่อีกอย่างหนึ่ง คือการบวชนาค ซึ่งมีความเชื่อกันว่า เมื่อผู้ชายอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ควรเข้าบวชในพุทธศาสนาชั่วระยะหนึ่ง เป็นกี่วันกี่เดือนหรือกี่ปีก็ได้ ทั้งนี้เพื่อจะได้ ถูกอบรมให้เป็นให้เป็นคนที่มีจิตใจดีงาม และรู้จักบาปบุญคุณโทษ โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครองและผู้ที่จะบวช จะต้องไปหาเจ้าอาวาสของวัดที่จะบวชเสียก่อน 1 หรือ 2 สัปดาห์ และแจ้งความประสงค์ให้ทราบ เจ้าอาวาสก็มอบให้พระรูปใดรูปหนึ่งในวัดเป็นผู้สอนให้ผู้บวชขานนาคอยู่ประมาณ 4 ถึง 5 วันจนขานได้ เมื่อก่อนจะถึงวันบวช 1 หรือ 2 วัน ผู้บวชก็จะไปหาพระที่จะนำบวชซึ่งเรียกว่า พระอุปัชฌาย์ เมื่อรับทราบเวลาที่จะทำพิธีต่างๆ ในวันก่อนถึงวันบวชนั้นส่วนมากจะมีพิธีทำขวัญนาค โดยมีญาติและมิตรสหายพร้อมหน้าโดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ พอรุ่งขึ้นก็นำนาคไปที่วัด ซึ่งเจ้าของงานประเพณีไทยนี้ส่วนมากมักจะจัดขบวนแห่จากบ้านไปวัด เมื่อถึงวัดก็จะแห่นาครอบโบสถ์ 3 รอบและนำเข้าโบสถ์ ต่อจากนั้นพระอุปัชฌาย์ และพระสงฆ์อื่นๆ ก็จะดำเนินการตามระเบียบของสงฆ์ต่อไป

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

ประเพณีไทย ประเพณีทำบุญบ้าน

ประเพณีไทย ประเพณีทำบุญบ้าน

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย


ประเพณีไทยที่คนไทยเรานิยมปฏิบัติกันมากอีกอย่างหนึ่งก็คือ การทำบุญบ้านหรือสถานที่ทำงาน โดยเจ้า ของงานจะไปติดต่อพระที่วัดล่วงหน้าก่อนวันงานประมาณ 1 หรือ 2 วัน จะนิมนต์พระ 5 หรือ 9 รูปไป สวดมนต์ที่บ้าน เมื่อถึงกำหนดเวลาแล้วเจ้าของบ้านจุดธูปเทียนปักไว้หน้าพระพุทธรูป ต่อจากนั้นจะขอให้พระให้ศีล 5 และสวดมนต์ หลังจากนั้นเจ้าของบ้านก็นำอาหารมาเลี้ยงพระ อาจถวายยา ดอกไม้ธูป เทียนหรือปัจจัยแก่พระสงฆ์ด้วย พระจะสวดให้พรอีกครั้งและประพรมน้ำมนต์จึงเสร็จพิธี

Tags : ประเพณีไทย ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย